วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

ใบย่านางมหัศจรรย์



ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณหมอยาโบราณอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า " หมื่นปี บ่ เฒ่า แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "


จากอาหารแต่ละภาคของไทย

ทางปักษ์ใต้นั้นนิยมใช้ยอดอ่อนใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน

ภาคอีสานก็นิยมนำใบ และยอดอ่อนใส่รวมกับแกงขนุน แกงอีลอก อ่อมและหมกต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลมกล่อมของแกงหน่อไม้และซุปหน่อไม้แล้ว ยอดอ่อนของเถาย่านางยังสามารถนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่นได้ด้วย


สารอาหารอย่างแคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมขบวนด้วย เช่น เอ บี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน

คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้ ส่วนของเถาใช้แก้ตานขโมย


หรืออย่างประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง

- เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย- มะเร็งปอด- มะเร็งตับ- มะเร็งมดลูก- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม- เบาหวานและความดันโลหิตสูง- ขับสารพิษ- ภูมิแพ้ ไอ จาม- เริ่ม งูสวัด- ตุ่มผื่นคันที่แขน- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ- นอนกรน ไตอักเสบ- อาการปวดขาที่แขน - เล็บมือผุ- เก๊าต์

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

นาฬิกาชีวิต Biological Block

มีเพื่อนที่เห็นการใช้ชีวิตของเราแบบน่าเป็นห่วง ส่งเรื่องราวนี้มาให้อ่าน เพื่อปรับปรุงเวลาในการใช้ชีวิตให้อายุยืนยาว และมีสุขภาพตามวัย จึงอดไม่ได้ที่จะต้องนำมาเล่าต่อค่ะ..เรื่องมีอยู่ว่า..
การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้นภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง
อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)
การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต"
1.00-3.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรคทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งมีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว
อาหารบำรุง : อาหารที่ช่วยล้างพิษ เช่น งา น้ำผลไม้และน้ำสะอาด

3.00-5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด ควรตื่นขึ้นมาสูดอากาศรับแดดตอนเช้า ผู้ที่ตื่นช่วงนี้ประจำ ปอดจะดี ผิวดี และเป็นคนมีอำนาจในตัว???
อาหารบำรุง : อาหารจำพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอสูง เช่น ส้ม ผักใบเขียว น้ำผึ้ง หอมใหญ่

5.00-7.00 น. ลำไส้ใหญ่ ควรถ่ายให้เป็นนิสัย คนเรามักไม่ตื่นกันตอนนี้ซึ่งเป็นเวลาที่ลำไส้ต้องบีบอุจจาระลง เมื่อไม่ตื่นจึงบีบขึ้น เมื่อไม่ถ่ายตอนเช้าลำไส้ใหญ่จึงรวน แล้วจะมีอาการปวดหัวไหล่ กล้ามเนื้อเพดานจะหย่อน แล้วจะนอนกรนในที่สุด
อาหารบำรุง : อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
7.00-9.00 น. กระเพาะอาหาร กินเข้าเช้าตอนนี้จะดี กระเพาะแข็งแรง ถ้ากระเพาะอ่อนแอ จะทำให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย ถ้าไม่กินข้าวเช้าอุจจาระจะถูกดูดกลับมาที่กระเพาะ กลิ่นตัวจะเหม็นถ้าถ่ายออกหมดจะไม่มีกลิ่นตัวเท่าไหร่
อาหารบำรุง : ควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน

9.00-11.00 น. ม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย หน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดหัวบ่อยมักมาจากม้าม อาการเจ็บชายโครงมาจากม้ามกับตับ ม้ามโต จะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย ม้ามชื้น อาหารแและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วนง่าย คนที่หลับช่วง 9.00-11.00 ม้ามจะอ่อนแอ ม้ามยังโยงไปถึงริมฝีปากคนที่พูดมากช่วงนี้ม้ามจะชื้น ควรพูดน้อยกินน้อย ไม่นอนหลับ ม้ามจะแข็งแรง
อาหารบำรุง : มันเทศสีแดง หรือเหลือง อาหารที่ทำจากบุก

11.00-13.00 น. หัวใจ หัวใจจะทำงานหนักช่วงนี้ ให้หลีกเลี่ยงความเครียด หรือใช้ความคิดหนัก หาทางระงับอารมณ์ไว้
อาหารบำรุง : อาหารที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เช่น ถั่วแดงและผลไม้สีแดง น้ำมันปลา วิตามินบีต่างๆ
13.00-15.00 น. ลำไส้เล็ก **ควรงดกินอาหารทุกประเภท** เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดสารอาหารที่เป็นน้ำเพื่อสร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง
อาหารบำรุง : อาหารไขมันต่ำ น้ำสะอาด

15.00-17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ จะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออก จะออกกำลังการหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง การอั้นปัสสาวะบ่อยจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทำให้เหงื่อเหม็น
อาหารบำรุง : ผลไม้เช่น บิลเบอร์รี่ และทานน้ำสะอาดมากๆ

17.00-19.00 น. ไต ควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนตอนนี้ ถ้าง่วงแสดงว่าไตเสื่อม ยิ่งหลับแล้วเพ้อ อาการยิ่งหนัก
อาหารบำรุง : อาหารที่มีเกลือต่ำ รวมถึงสมุนไพรจีน เช่น ถั่งเฉ้า

19.00-21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ ให้ระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ หัวเราะ
อาหารบำรุง : อาหารจำพวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมถึงวิตามินบีต่างๆ

21.00-23.00 น. เวลาของระบบความร้อนของร่างกาย ต้องทำร่างกายให้อุ่น ห้ามอาบน้ำเย็นเวลานี้จะเจ็บป่วยได้ง่าย ช่วงนี้อย่าตากลมเพราะลมมีพิษ
อาหารบำรุง : อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง โสม

23.00-1.00 น. ถุงน้ำดี เป็นถุงสำรองน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ อวัยวะใดขาดน้ำ จะดึงมาจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น อารมจะฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวมปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก ตอนเช้าจะจาม ถุงน้ำดีจะโยงถึงปอดจะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน หรือก่อนเวลา 23.00 น.
อาหารบำรุง : อาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
สรุป
1.00-3.00 น. นอนซะ 3.00-5.00 น. ตื่นมาสูดอากาศ 5.00-7.00 น. ขับถ่าย 7.00-9.00 น. กินข้าวเช้า9.00-11.00 น. อย่าพูดมาก กินน้อยๆ อย่านอน 11.00-13.00 น. หลีกเลี่ยงความเครียด
13.00-15.00 น. ห้ามกิน 15.00-17.00 น. ออกกำลังหรืออบตัวให้เหงื่อออก
17.00-19.00 น. ทำให้สดชื่น อย่าง่วง 19.00-21.00 น. ทำสมาธิ 21.00-23.00 น. ทำตัวให้อุ่นๆ ไว้23.00-1.00 น. กินน้ำก่อนนอน

การวิจัยนาฬิกาชีวิต
ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย
1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย
2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น.
3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ
เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท
เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท
การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น.
การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น.
4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้
5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม
การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก
ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
6. อุณหภูมิของร่างกาย
อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น.
อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น.
และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง
7. ระดับกลูโคสในเลือด
ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
ในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้
8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน
การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต
คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ)
9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน
ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น.
ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.)
ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง
ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน
คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด)
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน
ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด
10. ระบบสืบพันธุ์
รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่
ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง
อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอดมักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น.
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย
“มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว” คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเราสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง